วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

สิ่งประทับใจในการเข้าค่าย

สิ่งประทับใจในการเข้าค่าย 


1. มีความระเบียบเรียบร้อย

2. มีความสามัคคีเกิดขึ้น

3. ได้ระลึกถึงพระคุณแม่

4. ได้เล่นเกมสนุก

5. ได้มีเพื่อนเพิ่มมากขึ้น

6. ได้ขอโทษเพื่อนที่ต่างกัน

วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

มะละกอ

มะละกอ
 


 

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Carica papaya  L.

ชื่อสามัญ :   Papaya, Pawpaw, Tree melon

วงศ์ :   Caricaceae

ชื่ออื่น :  - มะก้วยเทศ (ภาคเหนือ)

              - หมักหุ่ง (ลาว,นครราชสีมา,เลย)
              - ลอกอ (ภาคใต้)
              - กล้วยลา (ยะลา)
              - แตงต้น (สตูล)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

                ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 3-6 เมตร เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาลออกขาว ลำต้นตรง ไม่มีแก่น แตกกิ่งก้านน้อย มีรอยแผลใบชัดเจน มียางขาวข้น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับรอบต้นหนาแน่นที่ปลายยอด ใบรูปฝ่ามือ ขนาด 80-120 ซม. ขอบใบเว้าเป็นแฉกลึกถึงแกนก้าน ก้านใบเป็นหลอด กลมกลวงยาว 25-100 ซม. ดอก ดอกแยกเพศอยู่คนละต้น ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อยาวห้อยลง ดอกสีขาว กลีบดอกมี 5 กลีบ มีกลิ่นหอม ดอกเพศเมียสีขาว ออกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบ ดอกมีขนาดใหญ่ กว่าดอกเพศผู้ ผล รูปกระสวย ผิวเรียบ เปลือกบาง มียางสีขาว ผลสดสีเขียวเข้ม พอสุกเปลี่ยนเป็นสีส้ม รับประทานได้ มีเมล็ดมาก เมล็ดกลม สีดำ มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีขาวใส
ส่วนที่ใช้ : ผลสุก ผลดิบ ยางจากผลหรือจากก้านใบ ราก

สรรพคุณ :

              - ผลสุก - เป็นยากัน หรือแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน เป็นยาระบาย
              - ยางจากผลดิบ - เป็นยาช่วยย่อย ฆ่าพยาธิ
              - ราก - ขับปัสสาวะ

วิธีและปริมาณที่ใช้ :
                เป็นยาระบาย    ใช้ผลสุกไม่จำกัดจำนวน รับประทานเป็นผลไม้   เป็นยาช่วยย่อย
ก. ใช้เนื้อมะละกอดิบไม่จำกัด ประกอบอาหาร
ข. ยางจากผล หรือจากก้านใบ ใช้ 10-15 เกรน หรือถ้าเป็นตัวยาช่วยย่อยแท้ๆ ( Papain )

เป็นยากัน หรือแก้โรคลักปิดลักเปิด โรคเลือดออกตามไรฟัน
ใช้มะละกอสุกไม่จำกัด รับประทานเป็นผลไม้ ให้วิตามินซี

ราก เป็นยาขับปัสสาวะ

ข้อควรระวัง :           สำหรับผู้ที่รับประทานมะละกอสุกติดต่อกันเป็นจำนวนมาก เป็นเวลานาน อาจทำให้สารมีสีพวก carotenoid ไปสะสมในร่างกายมากเกินไป ทำให้ผิวมีสีเหลือง

สารเคมี :
          ในผลมะละกอ ประกอบด้วย โปรตีน 0.5 % คาร์โบไฮเดรต 9.5 % แคลเซี่ยม 0.01 % ฟอสฟอรัส 0.01 % เหล็ก 0.4 มิลลิกรัม/100 กรัม และสารอื่นๆ อีกเล็กน้อย
ในส่วนของเนื้อมะละกอ จะมี sucrose, invert sugar papain, malic acid และเกลือของ Tartaric acid, citric acid และ pectin จำนวนมาก (มีทั้งในผลดิบด้วย) และ pigment พวก carotenoid และวิตามินต่างๆ

ที่มา :  www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_15_4.htm



วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สุนัขพันธุ์บางแก้ว

สุนัขพันธุ์บางแก้ว



ประวัติความเป็นมา ของ สุนัขไทยพันธุ์ บางแก้ว

             จากข้อมูล ที่ได้สอบถามจากประชาชนตลอดจนผู้เฒ่าผู้แก่ที่บ้านบางแก้ว ต.บางแก้ว บ้านชุมแสงสงคราม ต.ชุมแสงสงคราม อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก พอจะสรุปได้ว่า แหล่งกำเนิดของ สุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว นั้นอยู่ที่ วัดบางแก้ว ต.บางแก้ว อ.บางระกำ จ. พิษณุโลก ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำยม สภาพภูมิประเทศทั่ว ๆ ไปนั้นยังคงเป็น ป่าพง ป่าระกำ ป่าไผ่ และต้นไม้ชนิดต่าง ๆ ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นเหมาะสำหรับ เป็นที่อยู่อาศัย ของสัตว์ป่าชนิดต่าง ๆ ชุกชุม เช่นช้างป่าเป็นโขลง ๆ หมูป่า ไก่ป่า สุนัขจิ้งจอก และหมาใน หลวงพ่อมาก เมธาวี เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 3 ของวัดบางแก้ว ที่วัดของท่านเลี้ยง สุนัขไว้ไม่ต่ำกว่า 20-30 ตัวซึ่งส่วนใหญ่เป็นสุนัขที่ดุขึ้นชื่อลือชา และชาวบ้านทราบกันดีว่า ใครที่เข้ามาในวัดแต่ละ ครั้งจะต้องตะโกนให้เสียงแต่ไกล ๆ เพื่อให้พระอาจารย์มาก เมธาวี ท่านช่วยดูหมาเอาไว้ก่อน มิฉะนั้นจะถูกมันไล่กัด ด้วยกิติศักดิ์ในความดุของ สุนัขที่ วัดบางแก้วนี้เองจึงมีผู้คนนิยมมาขอลูกสุนัขไปเลี้ยงไว้ เฝ้าบ้าน เฝ้าเรือน เฝ้าเรือ เฝ้าแพ เฝ้าวัว เฝ้าควาย พื้นที่ ๆ สุนัขไทยพันธุ์บางแก้วได้ขยายพันธุ์ไป มากที่สุดก็คือ ต.บางแก้ว ต.ชุมแสงสงคราม อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก แต่ในปัจจุบันได้ขยายวงกว้างออกไป หลายจังหวัด เหตุผลที่สันนิษฐานว่า สุนัขไทยพันธุ์บางแก้วเป็นสุนัขลูกผสมสามสายเลือด พื้นที่ในเขต ต.บางแก้ว ต.ชุมแสงสงคราม อ.บางระกำ ในอดีตนั้นเป็นป่าดง พงพีที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วย สัตว์ป่านานาชนิดรวม ทั้งสุนัขจิ้งจอก และหมาในอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก โอกาสที่สุนัขจิ้กจอกและหมาในตัวผู้จะมาแอบ ลักลอบเข้ามาผสมพันธุ์กับสุนัขไทยตัวเมียที่เลี้ยงไว้ในวัดบางแก้วนั้นมีความเป็นไปได้สูงมากทีเดียวเพราะสุนัขป่าทั้งหลายนี้เป็นสุนัขที่กล้าหาญชาญชัย ว่องไว ใจปราดเปรียว แข็งแรง เมื่อมีการผสมข้ามพันธุ์กันตามธรรมชาติ สุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว มีลักษณะดีเด่นปรากฏโฉมออกมาคือ มีขนยาว ขนมี ลักษณะเป็นขนสองชั้นคล้ายอานม้า หางเป็นพวงสวยงาม มีขนแผงคอคล้ายแผงคอสิงโต ดุ เฉลียวฉลาด มีไอคิวสูง ไม่แพ้สุนัขพันธุ์ต่างประเทศ ปู่เทือง คงเจริญ เป็นบุคคลสำคัญที่ร่วมอนุรักษ์ พัฒนา สุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว ปู่เทือง คงเจริญ เป็นลูกศิษย์ของ หลวงปู่มาก เมธาวี ท่านมีบารมีมาก สามารถสะกดรอยตามเท้าสัตว์ได้ สมัยก่อนเดินทางด้วยม้า แล้วมีโจรมาขโมยม้าของหลวงปู่ หลวงปู่มาก ก็ใช้คาถาสะกดรอยตามเท้าสัตว์ จากนั้นไม่กี่วัน ก็ได้ม้ากลับคืนมา หลวงปู่มาก เป็นพระที่มีเมตตาต่อสัตว์ ท่านเลี้ยงสัตว์เป็นจำนวนมาก รวมถึง หมาบางแก้ว ที่เป็นหมาที่มีคุณค่า หลังจากนั้น ปู่เทือง ก็ ได้นำหมาบางแก้วมาเลี้ยงไว้ที่หมู่บ้านชุมแสงสงคราม จ.พิษณุโลก และมีการพัฒนาพันธุ์และเผยแพร่ ปู่เทือง คงเจริญเป็นผู้บุกเบิก


มาตรฐานสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์บางแก้ว
                 
                มีขนปุยยาว มีความสง่างาม ว่องไวและแข็งแรง เวลายืนมักเชิดหน้าและโก่งคอคล้ายม้า เป็นสุนัขขนาดกลาง รูปทรงตั้งแต่ช่วงขาหน้าถึงขาหลังเป็นสี่ เหลี่ยมจัตุรัส อกกว้างและลึกได้ระดับกับข้อศอก ไหล่กว้าง ท้องไม่คอดกิ่ว หน้าแหลม หูเล็ก หางพวง ขนมีสองชั้น นิสัยรักเจ้าของ ฉลาดปราดเปรียว กล้าหาญ ค่อนข้างดุ สามารถฝึกหัดได้ ชอบเล่นน้ำมาก ขนาดเท่าสุนัขไทยทั่วไป หรือเล็กกว่าเล็กน้อย ไม่อ้วน ความสูงวัดที่ไหล่ ตัวผู้พ่อพันธุ์สูง 42-53 เซนติเมตร ตัวเมียแม่พันธุ์ 38-48 เซนติเมตร น้ำหนักตัวผู้ 14-16 กิโลกรัม ตัวเมีย 13-15 กิโลกรัม ลำตัว ช่วงตัวตอนหน้าใหญ่ ช่วงตัวตอนท้ายค่อน ข้างเล็ก ลำตัวหนาปานกลาง อกลึกปานกลาง อกแคบ ยืดอกเวลายืน ส่วนเอวจะคอดน้อยกว่าหมาไทย ท้ายลาด สง่าเหมือนสุนัขจิ้งจอก ส่วนขา ขาหน้าจะ ใหญ่กว่าขาหลัง เล็กน้อย ขาส่วนบนใหญ่และเรียวลงมาถึงข้อเท้า ตั้งตรงแข็งแรง ถ้าดูด้านข้างจะเห็นขนยาวเป็นเส้นตรงจากข้อเท้าด้าน หลังขึ้นไปถึงข้อศอกเหมือนขาสิงห์ ขาหลังช่วงล่างมีทั้งตั้งตรงและเกือบตรง ช่วงบนด้านหลังจะมีขนยาว เป็นเส้นตรงขึ้นไปจนถึงโคนหาง เวลายืนท่า ปกติจะรับ น้ำหนักทรงตัวดี นิ้วเรียงชิดกัน ขนที่ปลายนิ้วยาวหุ้มเล็บ หัว กะโหลกใหญ่ ปากยาวแหลม คอยาวกว่าหมาไทยทั่วไป กะโหลกศีรษะและ ปากรับกันเป็น รูปสามเหลี่ยม หูเล็กสั้น ตั้งป้องไปข้างหน้า ปลายหูเบนไปข้างๆ เล็กน้อย โคนหูทั้งสองอยู่ห่างกันมากกว่าสุนัขพันธุ์อื่น ๆ จึงใช้เป็นจุดเด่น ในการสังเกตว่าเป็นสุนัขบางแก้ว ภายในหูมีขนปรายปิดรูหูอย่างสีดำมีแววของความไม่เชื่อใจใครง่ายๆ ขณะโกรธหรือขู่จะขึ้นแววฟ้า ใสแววที่เรียกกันว่า ตาเขียว จมูก สีดำ ฟันซี่เล็กข่าวคม มีเขี้ยวข้างบน 2 ล่าง 2 ลิ้นเป็นสีชมพู ส่วนมากไม่มีปานดำเหมือนสุนัขไทยทั่วไป ขนสองชั้น หนา ชั้นล่างละเอียด อ่อนนิ่ม ขนชั้นบนยาวเป็นเส้น เมื่อยังเล็กจะมีขนยาวปุกปุยแน่นทั่วตัว แต่เมื่อโตขึ้นจะมีขนยาวปานกลางแน่นทั้งตัว ขนที่กลางหลังตั้งแต่แผงคอไปยัง โคนหางจะ ยาวกว่าขนบริเวณอื่น ๆ มีแผงขนเป็นชั้นช่วงสันหลัง เวลาโกรธจะฟูยกให้เห็นชัดเจน ด้านล่างจากข้อเท้าตอนล่างถึงโคนขาตอนบนจะมี ขนยาวฟูพอ ประมาณ หางต้องเป็นพวง ถือเป็นลักษณะเด่นที่สืบทอดมาจากสุนัขจิ้งจอกลักษณะพวงหางแบ่งออกเป็น 3 พวกใหญ่ ๆ คือ
1. หางตั้งโค้ง ไปข้างหน้า บางตัวหางจะเหยียดตรงวางทาบไปบนหลัง
2. หางพุ่งไปด้านหลังแล้วโค้งตั้งขึ้นเหมือนหางดาบ ถ้าหางยาวจะโค้งมาจรดหลัง ถ้ายาวมากจะเบี่ยงลงข้าง ถ้าหางพวงใหญ่มีน้ำหนักมาก หางจะไพล่ ห้อยลงข้างตัว หางชนิดนี้มีอยู่มาก โดยเฉพาะแถบบ้านชุมแสงสงคราม
3. หางเป็นพวงลาดแบบแทงดิน ยาวห้อยลงอย่างหางม้า เวลาดีใจเมื่อเดินหรือวิ่งจะแกว่งหางไปมา เวลายืนหากมั่นใจว่าปลอดภัย จะยกหางสูงขึ้นเลย ระดับตัวเล็กน้อย นักเลี้ยงสุนัขบางแก้วบางคนจะพูดถึงกิริยาหางนี้ว่า "ขึ้นได้-ลงได้" ลักษณะเช่นนี้เหมือนหมาป่ามาก เรียกว่า หางจิ้งจอก สีของบางแก้ว มีสีหลักคือ สีดำพื้น, สีน้ำตาลพื้น, สีน้ำตาลปรายย้อมดำ(เขียว), สีด่างน้ำตาลขาว, บางตัวนอกจากสีด่างดำขาว หรือสีน้ำตาลขาวยังแทรกจุดหย่อมเล็ก กระจายมากน้อยทั่วทั้งตัวอีกด้วย ส่วนสีที่นิยมคือ ขาวปลอด ขาวน้ำตาล ขาวดำ เสียงเห่า เสียงเห่าแหลมเล็กกว่าสุนัขไทย การเดินวิ่ง เวลาเดินวิ่งจะ เหยาะย่างสง่างามเหมือนม้าย่างเท้าสวนสนามปกติจะวิ่งซอยเท้าถี่
ข้อบกพร่อง ได้แก่ ใบหูพลิ้ว, ไม่มีขนแผงรอบคอ, ขาหน้าเล็ก, ไม่มีแข้งสิงห์, ไม่มีขนคลุมนิ้วเท้า, หูใหญ่, หางขอด, ขนหลุดร่วง, ฟันบนยื่นกว่าฟันล่าง, ปากใหญ่, ตาใหญ่, หูไม่ตั้ง, หางไม่เป็นพวง, ขนสั้น, อัณฑะเม็ดเดียว, ฟันขาด 3 ซี่ขึ้นไปโดยไม่ใช่เพราะอุบัติเหตุ, หางขาด, ฟันล่างยื่นกว่าฟันบน, ปาก ทู่, ตากลม, สันหลังแอ่น เป็นต้น


ลักษณะพิเศษของสุนัขพันธุ์บางแก้ว

      1. ลักษณะหน้าเสือ ใบหน้าดูคล้ายเสือ มีกะโหลกศีรษะใหญ่ หน้าผากกว้าง โคนหูตั้งอยู่ห่างกัน หูเล็กแบะออกเล็กน้อย แววตาเซื่องซึม พื้นสีตามักจะเป็นสี เหลืองทองคล้ำ ม่านตาตรงกลางสีดำ มีขนย้อยจากโคนหูด้านล่างเป็นแผงที่คอ เรียกว่า แผงคอ แต่ไม่รอบคอ ขนมีทั้งฟูและไม่ฟู มีหางเป็นพวง ทั้งหาง งอ และหางม้วน แลดูดุร้าย เป็นลักษณะของสุนัขบางแก้วที่ใหญ่ที่สุด
      2. ลักษณะหน้าสิงโต มีกะโหลกศีรษะเล็กกว่าลักษณะหน้าเสือ หูเล็กเป็นรูปสามเหลี่ยม ป้องไปข้างหน้ารับกับใบหน้าอย่างสวยงาม ปากไม่เรียวแหลมมาก ไม่ใหญ่ไม่เล็กเกินไป มีขนยาวตั้งแต่โคนหูลงมาด้านล่าง เป็นแผงรอบคอ และมีขนเป็นเคราจากใต้คางย้อยลงมาเหมือนคอพอกลงมาถึงคอด้านล่าง ที่ บริเวณรอบลำคอมีขนยาวโดยรอบ มีทั้งขนสั้นฟูและฟูยาว เมื่องมองจากดานหน้าจะมีลักษณะคล้ายสิงโต ลักษณะเท้ายาวอูม ขนยาวหุ้มปลายเท้าเล็กน้อย มองดูคล้ายเท้าหมี ขนมีทั้งยาวฟู สั้นฟู หางมีทั้งม้วนสูงและม้วนต่ำ เป็นพวงและไม่เป็นพวง ช่วงตอนหน้าใหญ่ตอนท้ายเล็ก ยามปกติแววตาและท่าทาง เซื่องซึม แต่เมื่อเป็นศัตรูปรือคนแปลกหน้า จะเปลี่ยนเป็นดุร้ายและคล่องแคล่วว่องไวทันที ลักษณะหน้าสิงโตเป็นลักษณะที่หายามาก นาน ๆ จึงจะพบ เห็นสักตัวหนึ่ง
      3. ลักษณะหน้าจิ้งจอก มีใบหน้าแหลม หูใหญ่กว่าลักษณะหน้าเสือและหน้าสิงโต ใบหูไม่ตรงโย้ออกด้านข้าง มองดูเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ปากแหลม เรียวและค่อนข้างยาว ขนอ่อนยาวเรียบ ขนหางเป็นพวง รูปร่างมีทั้งใหญ่ กลางและเล็ก อุปนิสัยไม่ค่อยดุร้ายเหมือนสองพวกแรก

เทคนิกซื้อลูกสุนัขพันธุ์บางแก้ว

           เนื่องจากลูกสุนัขไทยพันธุ์บางแก้วมีราคาซื้อ-ขายค่อนข้างแพง  เมื่อเปรียบเทียบกับลูกสุนัขต่างประเทศสายพันธุ์อื่น ๆ ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ลูกสุนัขที่ซื้อมาควรจะมีใบเพ็ดดีกรีรับรองจากสมาคมหรือชมรมสุนัขไทยพันธุ์บางแก้วเท่านั้น คุณสุรวุฒิบอกว่าถ้าเป็นใบเพ็ดดีกรีที่ทางผู้ขายหรือทางฟาร์มหรือคอกออกให้เองก็ไม่ควรซื้อเพราะมีโอกาสที่จะได้ลูกสุนัขที่ไม่ได้มาตรฐานเช่นกัน

ในการซื้อลูกสุนัขมาเลี้ยงจะต้องสอบถามเรื่องการทำวัคซีนที่ทำให้ลูกสุนัข
               ลูกสุนัขที่ได้มาตรฐานทุกตัวจะต้องทำวัคซีนและถ่ายพยาธิแล้ว และผู้ที่ซื้อลูกสุนัขมาเลี้ยงจะต้องทำการตกลงกับผู้ขายว่าลูกสุนัขที่ซื้อมาเลี้ยงนั้นถ้าเป็นโรคติดมาจากร้าน ผู้ขายจะต้องรับผิดชอบ

สำหรับประเด็นรายละเอียด
                เกี่ยวกับมาตรฐานสายพันธุ์บางแก้วแท้ที่ผู้ซื้อจะต้องพิจารณา คือ ลูกสุนัขจะต้องมีโครงสร้างดี การเคลื่อนไหวดี ขนยาว ตำแหน่งมาร์คกิ้งสวย มีนิสัยร่าเริงและไม่ก้าวร้าวดุร้าย ถ้าเป็นสุนัขเพศผู้ลูกอัณฑะจะต้องมี 2 เม็ด

ข้อบกพร่องของลักษณะสุนัขไทยพันธุ์บางแก้วที่ไม่ควรซื้อ
                ได้แก่ มีลูกอัณฑะอันเดียว ขนเกรียน หางม้วน หลังแอ่น การเคลื่อนไหวไม่ดีและที่สำคัญคือมีนิสัยดุร้าย ประการสุดท้ายก็คือ ผู้ขายสุนัขพันธุ์บางแก้วควรจะมีความรู้และมีความจริงใจต่อผู้ซื้อ ควรจะบอกวิธีการเลี้ยงให้ถูกต้องตามหลักการ
 ปัจจุบันสุนัขไทยพันธุ์บางแก้วที่คนไทยนิยมซื้อไปเลี้ยงจะมี 3 สี    ได้แก่ สีขาว-เทา, สีขาว-ดำ และ สีขาว-น้ำตาล
ที่มา: http://www.wikipedia.org/

สิ่งที่ปรพทับใจในโรงเรียนของเรา

สิ่งที่ประทับใจในโรงเรียนของเรา

1. สถานที่ร.ร.น่าอยู่
2.คุณครูเป็นกันเองกับนักเรียน
3.ห้องน้ำสะอาด
4.บริเวณร.ร.ร่มรื่น
5.บรรยาการในห้องเรียนน่าเรียน
6.นักเรียนทุกคนเป็นกันเอง

วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ขนมหวานไทย

                           ขนมหวานไทย

กล้วยบวดชี (Banana in Coconut Milk)
     
ขนมหวานไทย : กล้วยบวดชี

เครื่องปรุง+เครื่องผสม    
           
-             กล้วยน้ำว้า 8 ลูก (เลือกห่ามๆ ไม่สุกมาก)           
-           หัวกะทิ 450 มิลลิลิตร
-            หางกะทิ 500 มิลลิลิตร                                         
-           ใบเตย 2 ใบ                       
-           น้ำตาลปี๊บ 40 กรัม                                               
-           น้ำตาลทรายขาว 40 กรัม 
-           เกลือ
 

วิธีทำขนมไทย ทีละขั้นตอน
          1. นำกล้วยไปนึ่งในน้ำเดือดประมาณ 3-5 นาที หรือนึ่งจนกระทั่งผิวกล้วยเริ่มแตกออก จึงปิดไฟและนำออกมาปอกเปลือกและหั่นครึ่งลูก จากนั้นจึงหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ
         2. นำหางกะทิไปต้มในหม้อและใส่ใบเตยลงไปด้วย เมื่อเดือดแล้วจึงใส่กล้วยที่หั่นไว้แล้วลงไป ตามด้วยน้ำตาลปี๊บ, น้ำตาลทรายขาวและเกลือนิดหน่อย
        3. เมื่อกะทิเริ่มเดือดอีกครั้งจึงใส่หัวกะทิลงไป และปล่อยทิ้งไว้ให้เดือดอีกประมาณ 3 นาที ถ้าต้องการให้น้ำข้นเหนียวก็ให้ใส่แป้งมันลงไปประมาณ 1 ช้อนชาและคนให้ละลายทั่ว
        4. อย่าต้มนานจนเกินไปเพราะจะทำให้กล้วยเละ กล้วยควรจะยังแข็งนิดหน่อย จากนั้นตักใส่จานและเสริฟทันที

ข้าวเหนียวมะม่วง (Mango with Sticky Rice)

ขนมหวานไทย : ข้าวเหนียวมะม่วง










เครื่องปรุง+เครื่องผสม
-    มะม่วงสุก 3 ลูก
-    ข้าวเหนียว 1 กิโลกรัม
-    หัวกะทิ 450 กรัม
-    เกลือป่น 3/4 ช้อนชา
-    น้ำตาลทราย 550 กรัม
-    ใบเตย 3-5 ใบ
-    ถั่วทอง 5 ช้อนโต๊ะ
-    หัวกะทิ 2 ถ้วยตวง (สำหรับทำน้ำราด)
-     เกลือป่น 1/4 ช้อนชา (สำหรับทำน้ำราด)


วิธีทำขนม ทีละขั้นตอน
 

1.   นำข้าวเหนียวไปล้างและแช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน จากนั้นนำไปสะเด็ดน้ำ
2.   นำผ้าขาวบางรองไว้ในซึ้งหรือหม้อนึ่ง แล้วจึงนำข้างเหนียววางลงบนผ้าขาวบาง จากนั้นนำไปนึ่งจนข้าวเหนียวสุก
3.   ในหม้อขนาดเล็ก ใส่น้ำตาล, เกลือป่น (3/4 ช้อนชา) และหัวกะทิ และนำไปตั้งบนไฟอ่อนๆ คนจนส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันดี จากนั้นจึงใส่ใบเตยลงไป ทิ้งไว้สักพักจึงปิดไฟ
4.  ในชามขนาดกลาง ใส่ข้าวเหนียวที่นึ่งไว้จนสุกดีแล้วลงไป จากนั้นจึงใส่น้ำกะทิที่เคี่ยวไว้ในขั้นตอนที่สามตามลงไป คนจนส่วนผสมเข้ากันทั่ว และทิ้งไว้อย่างน้อย 15 นาที
5.  ในระหว่างที่รอ เตรียมทำน้ำกะทิราดหน้าโดย ผสมหัวกะทิ (2 ถ้วยตวง) และเกลือป่น (1/4 ช้อนชา) ลงในหม้อขนาดเล็ก และนำไปตั้งบนไฟอ่อนๆ คนจนเกลือละลายทั่ว จึงปิดไฟ
6.  ปอกมะม่วงและจัดใส่จาน เวลาเสริฟ ตักข้าวเหนียวใส่จานจากนั้นโรยหน้าด้วยน้ำราดกะทิและถั่วทอง ควรเสริฟทันทีหลังจากปอกมะม่วงเสร็จใหม่ๆ


 ลูกชุบ (Green Peanut in Jelly)

 ขนมหวานไทย : ลูกชุบ


เครื่องปรุง+เครื่องผสม 
-    ถั่วเขียว 450 กรัม
-    น้ำตาลทราย 200 กรัม (สำหรับผสมถั่ว)
-    น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ (สำหรับทำน้ำวุ้น)
-    น้ำกะทิ 400 กรัม
-    วุ้นผง 3 ช้อนโต๊ะ
-    น้ำเปล่า 3 ถ้วยตวง (สำหรับทำน้ำวุ้น)
-    สีผสมอาหาร (อย่างน้อยแม่สี 3 สี : สีแดง, สีเหลืองและน้ำเงิน),จานสีและพู่กัน
-    ไม้จิ้มฟัน(สำหรับเสียบถั่วที่ปั้นแล้วเพื่อแต่งสีและจิ้มลงในน้ำวุ้น)
-    โฟม (สำหรับเสียบถั่วปั้นระหว่างทำ ถ้าวางบนพื้นจะเสียทรง)

วิธีทำขนม ทีละขั้นตอน

1.    นำถั่วเขียวเลาะเปลือกมาทำความสะอาด และแช่น้ำทิ้งไว้ประมาณ 2 ชั่วโมง จากนั้นจึงนำไปนึ่งให้สุก ใช้เวลาประมาณ 15 นาที)
2.    เมื่อถั่วเขียวสุกดีแล้ว ให้นำไปใส่ในเครื่องปั่นไฟฟ้า พร้อมกับน้ำตาลทรายและน้ำกะทิ ปั่นจนส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันดี
3.    จากนั้นจึงเทส่วนผสมลงในกระทะทองเหลือง (หรือกระทะเคลือบเทฟลอนก็ได้)และตั้งบนไฟอ่อนๆ ค่อยๆกวนจนข้นและเหนียว (ใช้เวลาประมาณ 20 - 30 นาที) จึงปิดไฟ และทิ้งไว้ให้เย็น (ถั่วต้องแห้ง มิเช่นนั้นจะไม่สามารถนำไปปั้นได้)
4.    ก่อนปั้นให้นวดส่วนผสมทั้งหมดอีกครั้งจนเข้ากันเป็นเนื้อเดียว จากนั้นจึงปั้นให้เป็นรูปทรงตามใจชอบ (ผัก, ผลไม้หรือสัตว์น่ารักๆ) เมื่อปั้นเสร็จให้เสียบไม้จิ้มฟันรอไว้ ควรปั้นส่วนผสมทั้งหมดให้เสร็จเรียบร้อยก่อน ถั่วที่ปั้นเสร็จแล้วควรห่อไว้ด้วยผ้าขาวบางชุบน้ำหมาดๆ
5.   ผสมสีผสมอาหารตามต้องการ แล้วจึงบรรจงแต่งสีลงบนถั่วปั้นให้เหมือนจริง หรือตามแต่ความชอบ
6.   ทำน้ำวุ้นโดยผสมน้ำเปล่า, ผงวุ้นและน้ำตาล ลงในหม้อ นำไปตั้งบนไฟร้อนปานกลาง หมั่นคนอย่างสม่ำเสมอ รอจนส่วนผสมเดือด ช้อนฟองที่ลอยหน้าออก จึงหรี่ไฟลง
7.   นำถั่วปั้นที่แต่งสีแล้วไปชุบในน้ำวุ้น ควรชุบประมาณ 2 - 3 ครั้ง ระหว่างชุบวุ้นต้องอุ่นน้ำวุ้นด้วยไฟอ่อนเพื่อไม่ให้วุ้นแข็ง ถ้าไม่พอก็ผสมน้ำวุ้นขึ้นใหม่ตามอัตราส่วนข้างต้น
8.   นำลูกชุบออกจากไม้จิ้มฟัน ตัดแต่งเศษวุ้นส่วนเกินออกด้วยกรรไกร จัดใส่จาน เสริฟเป็นของว่างในวันสบายๆได้ทันที
ที่มา : http://www.ezythaicooking.com/thai_dessert_recipes.html